วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

ผู้วิจัย : วรรณี วัจนสวัสดิ์

สรุปวิจัย : เกมการศึกษาลอตโตทำให้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กเพิ่มขึ้นจริง จากการวิจัยทําให้ทราบถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต เพื่อไปเป็นแนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาลอตโตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทํากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตโดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกตเปรียบ เทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลําดับ ด้านการรู้ค่าจํานวน สูงขึ้น

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย :
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุ 4–5 ปี ที่กําลังศึกษา
อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา
กรุงเทพมหานคร สํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2
จํานวน 30 คนโดยมีขั้นตอนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Samping)
มา 1 ห้องเรียนจากจํานวน 8 ห้องเรียน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย :
   1. เกมการศึกษาลอตโต จํานวน 45 เกม
   2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จํานวน 4 ชุด ได้แก่
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกตเปรียบเทียบจํานวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่ จํานวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านเรียงลําดับ จํานวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการรู้ค่าจํานวน 10 ข้อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556
1. อาจารย์แจ้งเรื่องกิจกรรมต่าง
 - วันที่ 26 ก.พ. 56 สอบนอกตารางรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
เวลา 13.00 น. ห้องจะแจ้งภายหลัง
 - วันที่ 2 มี.ค. 56 งานกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย เวลา 09.00 น.
 - วันที่ 3 มี.ค. 56 งานปัจฉิมนิเทศ เวลา 10.00 - 14.00 น.และบายเนียร์เวลา 18.00 -20.00 น.
 - วันที่ 5 - 8 มี.ค. 56 ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดหนองคายและประเทศลาว
2. อาจารย์สรุปบทเรียนที่เรียนมาทั้งหมด
3.อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปบทเรียนที่เรียนมาได้เนื้อหาสาระและทักษะอะไรบ้าง
4.งานที่ได้รับมอบหมายให้ไปสรุปวิจัย 1 เรื่อง ลง Blogger (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
1. สอบสอน หน่วย กล้วย
วันที่ 1 ศิวลักษณ์ (ชนิด)
วันที่ 2 จันจิรา (ลักษณะ)
2. สอบสอน หน่วย ข้าวโพด
วันที่ 1 อารี (ชนิด สามารถนำไปประกอบอะไรบ้าง)
วันที่ 2 ละมัย (ลักษณะ, ส่วนประกอบ)
วันที่ 3 เพชรลัดดา (ประโยชน์)
วันที่ 4 สุภาวดี (การปลูก)
วันที่ 5 นิศาชล (Cooking)


สรุปสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
1. สอบสอน หน่วยไข่
- วันที่ 1 วรรณพร (ชนิด)
- วันที่ 2 ทิพากร (ลักษณะ , ส่วนประกอบ)
- วันที่ 3 ขวัญชนก (ประโยชน์)
- วันที่ 4 รัชฎาภรณ์ (การถนอม)
- วันที่ 5 ชนากานต์ (cooking)

2. สอบสอน หน่วยส้ม
- วันที่ 1 ศิริวรรณ (ชนิด)
- วันที่ 2 นฎา (ลักษณะ , ส่วนประกอบ)
- วันที่ 3 จุฑาทิตย์ (ประโยชน์)
- วันที่ 5 วรางคณา (cooking)

3..งานที่ได้รับมอบหมาย
ไปอ่านและสรุปงานวิจัยและสาระ มาตรฐานคณิตศาสตร์ ลงในBlogger

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556
1. พูดคุย ปรึกษากันเรื่่องงานกีฬาสี บายเนียร์ และงานการแสดงความสามารถของคณะศึกษาศาสตร์
2.รายชื่อผู้แสดง
รำ  -  สว่างจิต (เชิญพระขวัญ)
ร้องเพลง - รัตติยา (เพลงหนูไม่รู้)
โฆษณา - นิศาชล , ละมัย
พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า
การแสดงโชว์ - ลิปซิ้งเพลง จุฑามาศ, นีรชา
                       - เต้นประกอบเพลง  พลอยปภัส, เกตุวดี,มาลินี
                       - ละครใบ้  อัจฉรา , จันทร์สุดา
                       - ตลก ณัฐชา , ดาราวรรณ, ชวนชม
ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา
3.เป็นคณิตศาสตร์
มาตรฐานที่ 1 : การนับ
มาตรฐานที่ 2 : ช่วงเวลาทำแต่ละการแสดง
มาตรฐานที่ 3 : เวที การขึ้นเวที การนั่ง
มาตรฐานที่ 4 : รูปแบบ แบบรูป (Pattern) พีชคณิต
มาตรฐานที่ 6 : หาค่าทางสถิติ

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 22 มกราคม 2556
- ส่งสื่อคณิตศาสตร์ที่อาจารย์มอบหมายให้กลับไปทำ





- อาจารย์บอกคำแนะนำในการสอบสอนอาทิตย์หน้า โดยยกตัวอย่างเรื่อง "ไข่"
วันจันทร์ : เด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้าง
วันอังคาร : เด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้าง ให้เด็กสังเกตและสัมผัสและทำตารางเปรียบเทียบและเซต
วันพุธ : ประโยชน์ ต้องเป็นนิทาน ใช้การวัด ทิศทาง ตำแหน่ง ระยะทาง
วันพฤหัสบดี : Cooking
วันศุกร์ : การถนอม ต้องใช้วิธีการสาธิต
- อาจารย์นำสื่อคณิตศาสตร์ หลักหน่วย หลักสิบ มาให้ดู

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2555
  อาจารย์ให้ส่งฝาขวดน้ำที่มอบหมายให้

  มาตรฐานคณิตศาสตร์

  1. จำนวนการนับ และการดำเนินการ - นับจำนวนทั้งหมด แทนค่าด้วยสัญลักษณ์ตัวเลขฮินดูอารบิค
  2. การวัด - ต้องมีเครื่องมือ จะได้ค่า ปริมาณและมีหน่วยตามมาแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอารบิค อาจใช้ระยะห่างเป็นฝ่ามือ ฝาน้ำ กระดาษ แทนค่าด้วยกราฟ ภาพ
  3. เรขาคณิต - รูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ตำแหน่ง ทิศทาง
  4. พีชคณิต - แบบรูป (Pattarn) หรือ รูปแบบ เกมการศึกษาต่างๆ เช่น  จับคู่ ความสัมพันธ์สองแกน

    5. วิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น -  การเช็คข้อมูลเด็กที่มาเรียน และเด็กที่ขาดเรียน
นำมาใช้บูรณาการด้านคณิตศาสตร์เรื่ิอง ตัวเลข การนับ การบวก(เพิ่มขึ้น) และการลบ (ลดลง)
งานที่ได้รับมอบหมาย
  - จับกลุ่ม 18 - 19 คน ทำกราฟเส้นแนวตั้งและแนวนอน
  - เตรียมสอบสอน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีการเรียนการสอน ให้นักศึกษาเตรียมงานที่มอบหมายใว้ ส่งในสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 1 มกราคม 2555
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันขึ้นปีใหม่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับการสอบกลางภาคเรียน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาบุคลากร อาจารย์ให้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555
- อาจารย์แจกกล่องให้คนละ 1 กล่อง
 อาจารย์ใช้คำถามว่า
   1. กล่องเห็นเป็นอะไร
   2. อยากให้กล่องเป็นอะไร
   3. ให้ประสบการณ์คณิตศาสตร์เรื่องอะไร รูปทรง ขนาด เรียงลำดับ พื้นที่ จัดประเภท จับคู่(ขนาด รูปทรง) การชั่ง การนับ การอนุรักษ์ การเปรียบเทียบ การทำตามแบบ เซต (การนำมาจัดกระเช้าของขวัญ) เศษส่วน กราฟ
  - จับกลุ่ม 10 คนแล้วนำกล่องมาต่อกันทีละคน โดยห้ามพูดคุยกัน

 - ใช้กลุ่มเดิม มีกล่องให้ 15 กล่อง ให้นำมาต่อกันโดยสามารถพูดคุยกันได้


 - ช่วยกันจัดทั้งห้อง และนำกล่องมาใช้เท่าไรก็ได้ เพื่อนๆลงความเห็นว่าจัดเป็น "สวนสัตว์" 
 



งานที่ได้รับมอบหมาย
  - ฝาน้ำสีขาวคนละ 9 ฝา
  - กระดาษโปสเตอร์สี ขนาด 1นิ้ว 1.5นิ้ว และ 2 นิ้ว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555
- นำเสนองานที่จะใช้สอนในแต่ละอาทิตย์
        1. ส้ม
        2. มะนาว
        3. ข้าวโพด
        4. ไข่
- อาจารย์ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่ม
วันจันทร์
  - เวลาเรียงให้เรียงจากซ้ายไปขวา (การเขียนหนังสือ)
  - การนับให้นับ1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 เพิ่มอีกหนึ่งเป็น 3 (ประสบการณ์การบวกและการเพิ่ม)
  - การทำตามแบบ ครูวางเป็นแบบและให้เด็กวางตามแบบที่ครูวาง
วันอังคาร
  - ให้เด็กคลำผิวขรุขระและผิวเรียบในกล่องคนละสี ดมกลิ่น รสชาติ สังเกตรูปทรง

วันพูธ
  - ทำกราฟใครชอบกินอะไร จับออก1ต่อ1 ส้มที่หมดก่อนมีจำนวนน้อยที่สุด
วันพฤหัสบดี
  - ทำCooking น้ำส้มปั่น
วันศุกร์
  - ข้อควรระวัง
      1. ควรล้างก่อน
      2. ห้ามกินเยอะ
      3. ห้ามกินตอนท้องว่าง
อาจผูกเข้ากับนิทาน เชิดหุ่น
-การเขียนแผนการจัดประสบการณ์แต่ละวันตามหน่วย



วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันอังคารที่ 27 พฤษศจิกายน 2555
อาจารย์สอนเรื่อง
1. การทำ Mine Mapping
2. แสดงข้อคิดเห็น ให้คำแนะนำแต่ละหน่วย
   - ข้าวโพด

   - ส้ม
   - ไข่
   - มะพร้าว
แบ่งเป็นเรื่่องย่อย
- ลักษณะ  -รูปร่าง,พื้นผิว,สี
- ประโยชน์ - ตัวมันเอง,อาชีพ
- ข้อพึงระวัง
- ขยายพันธุ์
- ส่วนประกอบ
- ชนิด
3.นำเสนอกิจกรรมคณิตศาสตร์ 12 ข้อ


4.อาจารย์ยกตัวอย่างหน่วยไข่ให้ฟัง

งานที่ได้รับมอบหมาย
- ไปทำMine Mappingคนละ1แผ่นของหน่วยตนเอง
- ไปแบ่งกับเพื่อนในกลุ่มคนละวันจันทร์-ศุกร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2555
- การเลือกหน่วย
  ใกล้ตัว
  สิ่งที่มีผลกระทบ
- เพื่อนนำเสนอหน่วย
      กล้วย
      ส้ม
      ไข่
      อะไรเป็นคณิตศาสตร์
- ส่วนประกอบของหน่วย
   ลักษณะ
   ข้อจำกัด
   ประโยชน์
   อาชีพ
   การถนอม , แปรรูป

ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้ (นิตยา ประพฤติกิจ,2541.17-19)
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
(เยาวภา เดชะคุปต์ 2542: 87-88) ได้เสนอแนวการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กว่า- การจัดกลุ่มกรือเซต- จำนวน 1-10 การฝึกนับ1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่- ระบบจำนวน และชื่อของตัวเลข123.......- ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต- คุณสมบัติของคณิตจากการรวมกลุ่ม- ลำดับที่ สำคัญ และประโยชน์ของคณิต- การวัด- รูปทรงเรขาคณิต- สถิติและกราฟ

การนำคณิตศาสตร์มาใช้
การจัดประเภท: ไปตลาดเอาไข่เป็ดไปใส่ตะกร้าสีแดง ไข่ไก่ใส่ตู้เย็น
การนับ             : วันนี้มีเงินกี่บาท
รูปทรง             : วันนี้เอากระเป๋ารูปทรงอะไรมา
เวลา                : เธอมาเรียนกี่โมง
ปริมาณ            : ฉันกินน้ำไป1แก้ว
การเรียงลำดับเหตุการณ์: เมื่อเช้าตื่นนอน...
การวางแผน      : พรุ่งนี้จะตื่นนอนกี่โมง